การพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับที่ลับในที่แจ้ง ไม่ใช่เรื่องที่ผู้หญิงอย่างเราๆ พึงประสงค์ เราชอบคุยกันเรื่องเสื้อผ้าหน้าผม เราคุยกันเรื่องกินเที่ยวเบี้ยวงาน แต่เมื่อถึงเรื่อง “ตรงนั้น” (เห็นมั๊ยคะ? ดิฉันยังไม่กล้าใช้คำว่า “อวัยวะเพศหญิง”) เราพยายามหลีกเลี่ยง เพราะสังคมไทยของเราปลูกรากฝังหัวกันมาว่า เป็นเรื่องหยาบ แต่ถ้าาจะมองกันให้ยุติธรรมพอ เธอเป็น “เจ้าชีวิต” ของคนทั้งโลกเชียวนะคุณ มนุษย์หน้าไหนก็มุดหัวออกมาจาก “ตรงนั้น” กันเกือบทั้งนั้น (ถ้าไม่มีหมอช่วยจริงมั๊ย?) นอกจากเราจะหลบเลี่ยงไม่พูดถึง “ตรงนั้น” กันตรงๆ แล้ว แม้แต่จะส่องกระจกมอง “หน้าล่าง” กันชัดหลายๆ คนยังไม่กล้า คุณส่องกระจกสำรวจ “อวัยวะเพศ” ของตัวเองครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่? เพราะผู้หญิงเรามีอวัยวะสืบพันธ์ุที่สลับซับซ้อนกว่าผู้ชายอยู่หลายขุม การส่องกระจกดูอวัยวะเพศของตัวเองในที่นี้ของดิฉันหมายถึง ดูกันจะๆ เห็นกันชัดๆ เอาไฟส่อง สำรวจตรวจตรา แหวกซ้าย แหวกขวา ยกขาถ่างกางดูความเรียบร้อยแบบเต็มๆ ตา การส่องกระจกดูความเป็นหญิงชัดๆ นอกจากจะถูกจัดอยู่ในช่วงเวลา Me Time ของดิฉันสืบเนื่องกระบวนการรักตัวเอง ชื่นชมตัวเองแล้วนั้น บ่ายวันหนึ่งมันทำให้ดิฉันค้นพบตัวเองว่า ริมฝีปากสองข้างที่เคยยิ้มได้พองามบนใบหน้าล่างของดิฉัน มันกลับดูเบี้ยวๆ เอาตรงๆ กันเลยล่ะนะ “แคมสองข้างมันไม่เท่ากัน” สาวบางคนอาจคิดในใจตลกๆ […]
Month: November 2017
ภาษาไทยไม่ได้มีแค่ I กับ You
“เจ๊ เจ๊ เจ๊ เอาส้มตำปูปลาร้า หรือปูม้าอย่างเดียว” “น้า น้า ช่วยเขยิ่บเข้าข้างในหน่อยครับผม” ให้ตายสิ…ดิฉันแอบเคืองๆ คันๆ ไม่ได้เมื่อถูกเรียกด้วยสรรพนามไม่พึงประสงค์บ่งบอกอายุกันแบบไม่เกรงใจ และลำบากใจกับการเลือกใช้คำสรรพนามเรียกชื่อตัวเอง เรียกคนอื่นที่กำลังสนทนาด้วยเป็นยิ่งนัก เมื่อก่อนตอนเด็กๆ พูดกับพ่อกับแม่ กับครูบาอาจารย์เรียกตัวเองว่า “หนู” ก็ดูน่ารักน่าเอ็นดูดี พูดกับเพื่อนๆ ที่โรงเรียนเรียกกันว่า “เธอกับฉัน” แอบๆ ใช้ภาษาพ่อขุนกับอยู่บ้าง เรียกคนอื่นทั่วๆ ไปก็ไล่อายุกันไป “พี่ ป้า น้า อา ตา ยาย” ก็ดูอบอุ่นตามวัฒนธรรมเครือญาติของไทย แต่ครั้นเรียนหนังสือจบ ทำงานเป็นผู้ใหญ่ ผ่านเลยวัยเบญจเพศมาสองสามไฟแดง เอาสิ…ไปไหนมาไหน ชักมีแต่คนเรียก “พี่” สังคมก็เริ่มเปลี่ยนไป เพราะต้องพบปะปฏิสันถารกับคนด้วยหน้าที่การงาน แล้วคราวนี้ดิฉันจะใช้คำสรรพนามอะไรดีจึงจะเหมาะสม? สังคมนับญาติ สังคมไทยมีวัฒนธรรมนับญาติ (ทั้งที่ไม่ใช่ญาติ) มาเนิ่นนานในอดีตจนถึงปัจจุบัน โดยมีรากฐานมาจากการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันเสมือนหนึ่งญาติมิตร ในสังคมตะวันตกก็มีการนับพี่นับน้อง (Brotherhood) เช่นกัน แต่ไม่ชัดเจนเท่ากับสังคมของไทยเรา เวลาไปตลาดซื้อของ เรียกกันพี่กันน้องก็รับกันได้ แม้คนขายบางเจ้ามันหน้าแก่กว่าซะอีกแต่ดันมาเรียกกันว่า “พี่” ก็ยอมๆ […]
เพราะเงินนั้นไม่สำคัญฉะนี้
เมื่อวันก่อนดิฉันเดินผ่านไปเห็นสาวน้อยน้องนางบ้านนาหน้าตาดีคนหนึ่ง ยืนจ้องป้ายประกาศรับสมัครงานแปะไว้ที่หน้าห้องแถว “รับเด็กล้างจาน 1 ตำแหน่ง” ที่ให้ค่าตอบแทนต่ำมาก ชนิดซื้อรองเท้าสวยๆ ซักคู่ยังแทบไม่ได้เลย เธอจดจ่ออยู่กับการจดเบอร์โทรศัพท์ติดต่ออย่างตั้งอกตั้งใจเหมือนอยากจะได้งานนี้เป็นอย่างมาก ดิฉันแอบนึกสงสัย…. ”ล้างจานได้เงินแค่เนี้ยนี่อ่ะนะ จะพอกินมั๊ยหนูเอ๊ยยย?” คนตีค่าของเงินที่ตรงไหน? ถ้าจะให้ดิฉันเดา…คงตีราคาตามต้นทุนชีวิตของพวกเขาในแต่ละคนต่อหน่วยเวลา บ้านเช่า ข้าวซื้อ ไหนจะค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าอินเตอร์เน็ต ยิ่งพวกสาว High Maintenance ค่าดูแลรักษาสูงทั้งหลาย สระผมเองไม่เป็น ทำเล็บเองไม่เป็น วิ่งตาม Trend ใครมีอะไรมีด้วย ใครใช้อะไรใช้ด้วย เอาตัวอิง Brand เพื่อสร้าง Identity ให้ตัวเอง กลุ่มสาวพวกนี้ “เงิน” จะมีค่ากับพวกเธอมาก เห็นตัวอย่างมาหลากหลาย บางคนมีหน้าที่การงานและตำแหน่งดี ได้เงินเดือนสูงๆ คอยรักษาไลฟ์สไตล์ในรูปแบบ Roof Top ที่พวกเธอชอบ จะมีผู้หญิงส่วนใหญ่ในระดับกลางถูกกดดันอยู่ในระหว่างสังคมบนที่อยากจะเป็น และ สังคมล่างที่วิ่งหนี พวกเธอเป็นสาวออฟฟิศธรรมดาๆ แต่ทนต้านแรงอิทธิพลลัทธิ “Consumptionism” ในยุคโลกาภิวัฒน์ (Globalisation) ไว้ไม่ได้ เธอจึงดูเหมือนจะพยายามโยนลูกบอลสามสี่ลูกขี้นบนอากาศ รับลูกนี้ […]
ความสัมพันธ์ฉันท์ตัวเอง
นั่งงม นอนงม จมกองเอกสารติดต่อกันมาหลายวัน อยากปั่นให้งานเสร็จไวๆ เพราะใจดิฉันมันลอยไปเกาะรอกนอก รอกใน ในท้องทะเลอันดามันเสียแล้ว ตั้งใจว่าหยุดพักผ่อนคราวนี้จะหลุดแผ่นดินใหญ่หายวับไปในน่านน้ำสีฟ้าซักพัก ก่อนกองทัพนักท่องเที่ยวทั้งไทยและเทศจะเริ่มหลั่งไหลเขามาในเทศกาลคริสมาสต์และปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง มนุษย์เงินเดือนธรรมดาๆ อย่างดิฉันไม่ขอยอมเป็นมนุษย์ไร้คุณภาพชีวิต ต้องขอกินดี อยู่ดี เที่ยวดี มีความสุข กินดีของดิฉันไม่ใช่การสรรหาอาหารหรูกินนอกบ้าน แต่อาจเป็นหัวดอกกระหล่ำนึ่งโรยเกลือกินกับน้ำเต้าหู้ อยู่ดีของดิฉันไม่ใช่มีบ้านหลังโอ่อ่า แต่ต้องเป็นบ้านที่สะอาดและมีอากาศถ่ายเท เที่ยวดีของดิฉันไม่ใช่ไปต่างประเทศ แต่เป็นที่ไหนก็ได้ที่สงบ และได้ประสบการณ์ใหม่ๆ เวลาคุณภาพให้ตนเอง เพราะ Mind Body & Soul ของเรานั้นต้องทำงานร่วมกันและส่งผลกระทบไปถึงกันและกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราจึงต้องหมั่นคอยดูแลรักษาความสมดุลย์ระหว่าง 3 องค์ประกอบหลักคือ ร่างกาย จิตใจ และ จิตวิญญาณ ให้ได้ดีที่สุด ช่วงจังหวะชีวิตในแต่ละวัน ภาระกิจหน้าที่และความรับผิดชอบ อาจทำให้คานที่ควรจะสมดุลย์โอนเอียงไปบ้าง แต่สำนึกในชั่วขณะเวลาของเราจะดึงเรากลับมา ว่าแล้ว…ดิฉันก็ปล่อยมวยผมที่มัดอยู่บนหัวเหมือนรังนก สะบัดสยายออกเป็นอิสระ เป็นการบอกตัวเองเป็นนัยว่า “พอแล้ววันนี้” ลุกขึ้นยืน บิดเอวซ้ายทีขวาที ย่อเข่า โก่งก้นที่นั่งบนเก้าอี้เสียนานจนชา เอี้ยวตัวแตะตาตุ่มซ้ายย้ายมาตาตุ่มขวา “ME time? Yes!!!” คว้าผ้าขนหนูทันใด จัดชุดวันเกิดให้ตัวเอง […]